เว็บล่ม (Website Down) คือสถานะที่เว็บไซต์ไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้งานไม่ได้ชั่วคราวหรือต่อเนื่องในขณะนั้น หากคุณพยายามเข้าถึงเว็บไซต์แล้วพบข้อความเกี่ยวกับการขัดข้อง หรือไม่สามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์นั้นได้ ก็แสดงว่าเว็บไซต์นั้นมีสถานะล่มในช่วงเวลานั้น สาเหตุที่เกิดข้อผิดพลาดและเหตุการณ์ที่ทำให้เว็บไซต์ล่มอาจมีหลายอย่าง
เว็บล่มเป็นฝันร้ายสำหรับทุกธุรกิจ และเป็นสิ่งที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่ต้องเจอปัญหานี้ เป็นเรื่องน่าหงุดหงิดสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งมันส่งผลเสียต่อธุรกิจ ลองนึกดูว่าลูกค้าของคุณจะทำอย่างไรหากเว็บไซต์ของคุณไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจกับปัญหานี้
มาดูว่าสาเหตุที่ทำให้เว็บล่มที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง แล้วจะสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาเว็บล่มได้อย่างไร
เว็บล่มเกิดจากอะไรได้บ้าง
1. มีคนพยายามเข้าชมเว็บไซต์ของคุณพร้อมกันมากเกินไป
เมื่อมีคนพยายามเข้าชมเว็บไซต์ของคุณพร้อมกันมากเกินไป การเข้าชมเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน อาจนำไปสู่การโอเวอร์โหลดซึ่งทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม นั่นเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณล่ม
- คุณควรติดตามจำนวนผู้เข้าชมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาเลือกใช้บริการโฮสติ้งในรูปแบบที่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าชม
- ใช้บริการโฮสติ้งที่มีความเสถียร เชื่อถือได้ มีเซิร์ฟเวอร์ที่ทันสมัย
- ใช้เทคนิค Caching เพื่อลดโหลดของเซิร์ฟเวอร์ คือการเก็บข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จากเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ client หรือที่เครื่องหนึ่งๆ ของเครือข่าย เพื่อลดการเรียกข้อมูลใหม่ซ้ำซ้อนกับเซิร์ฟเวอร์
- แยกงานให้กับเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง หากเซิร์ฟเวอร์เดียวไม่เพียงพอ ควรพิจารณาแยกงานให้กับเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง เช่น แยกเซิร์ฟเวอร์ของฐานข้อมูลออกมาเป็นเครื่องเดียว หรือแยกเซิร์ฟเวอร์ในส่วนของเนื้อหาและภาพจากส่วนของฐานข้อมูล
2. มีการโจมตีเว็บไซต์ของคุณ
การโจมตีที่เป็นอันตรายอาจทำให้เซิร์ฟเวอร์ของคุณทำงานหนักเกินไป และทำลายเว็บไซต์ของคุณ การที่เว็บไซต์ถูกโจมตีโดยบอทจำนวนนับไม่ถ้วน สิ่งนี้ก็เป็นจะคล้ายกับปัญหาแรกแต่เปลี่ยนเป็นการโจมตีแทนที่จะเป็นการเข้าใช้งานเว็บไซต์แบบปกติ หรือที่เรียกกับโดยทั่วไปว่า DDoS (Distributed Denial of Service) ทำให้โอเวอร์โหลดเซิร์ฟเวอร์ด้วยทราฟฟิกที่สมมุติขึ้น
- หากคุณใช้ผู้ให้บริการโฮสติ้ง คุณควรติดต่อพวกเขาเพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับปัญหาที่คุณกำลังเผชิญอยู่ พวกเขาอาจมีความช่วยเหลือที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับ DDoS
- ใช้ Cloudflare ตรวจสอบเพื่อแยกแยะระหว่างการโจมตี DDoS กับการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้ ซึ่งมี Web Application Firewall (WAF) ที่จะช่วยกรองและป้องกันการโจมตี DDoS และพิจารณาปิดกั้นการเข้าใช้งานที่คาดว่าเป็นผู้โจมตี
- หากจำเป็นคุณต้องขยายความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ในการรับมือกับการโจมตี DDoS ที่มีขนาดใหญ่
- สุดท้ายถ้ายังรับมือไม่ไหว แนะนำให้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หากเว็บของคุณถูกโจมตี DDoS อย่างรุนแรง ควรพิจารณาใช้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและระบบเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือในการจัดการกับสถานการณ์นี้ แต่ก็แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่แพง
3. ปัญหาเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์
หากเว็บไซต์ของคุณล่ม และโดยที่ทุกอย่างดูปกติ ไม่ได้มีผู้เข้าชมจำนวนมากหรือการโจมตีใด มีโอกาสดีที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการโฮสติ้งของคุณ สถานการณ์นี้อาจทำให้คุณหงุดหงิดได้เป็นพิเศษ เป็นไปได้ว่าผู้ให้บริการโฮสติ้งของคุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ หรือพวกเขาอาจกำลังดำเนินการบำรุงรักษาใดๆ
- หากคุณใช้ผู้ให้บริการโฮสติ้ง ติดต่อกับพวกเขาเพื่อแจ้งปัญหานี่คือสิ่งที่คุณทำได้มากที่สุดในเวลานั้น
- หากปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยจนส่งผลต่อธุรกิจของคุณ ก็ควรเปลี่ยนบริการโฮสติ้งที่มีความเสถียรมากขึ้น หรือเปลี่ยนผู้ให้บริการโฮสติ้งที่เชื่อถือได้
4. เว็บโดนแฮก
การโจมตีเว็บไซต์อีกประเภทหนึ่งมาจากแฮกเกอร์ ซึ่งผู้คนจงใจพยายามเจาะเข้าไปในเว็บไซต์ของคุณ อาจดูเหมือนว่าคุณสามารถแก้ไขข้อขัดข้องของเว็บไซต์ง่ายๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าปัญหาเกิดจากการแฮก อย่าพึ่งคิดว่าปัญหาจะหมดไปง่ายๆ เพราะแฮ็กเกอร์มักจะออกจากการเข้าถึงแบบลับๆ ซึ่งทำให้พวกเขากลับมาได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ปัญหานี้อาจจะไม่เชิงเว็บล่มเพราะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการแฮก แต่ก็ทำให้เว็บล่มได้เหมือนกันหากแฮกเกอร์ต้องการที่จะทำแบบนั้น
- ตรวจสอบช่องโหว่ความปลอดภัย ใช้เครื่องมือหรือบริการที่ตรวจสอบช่องโหว่ความปลอดภัยของเว็บแอปพลิเคชันและเซิร์ฟเวอร์ของคุณ เพื่อค้นหาปัญหาและช่องโหว่ที่อาจถูกนำไปใช้ในการโจมตี
- อัพเดทระบบความปลอดภัยของเว็บไซต์ เช่น ใช้การเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ และที่มีการส่งผ่านระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับผู้ใช้ การเข้ารหัสข้อมูลช่วยให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ควบคุมความปลอดภัยมากขึ้น หรือจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลในระดับผู้ใช้ ระบบควบคุมการเข้าถึงจะช่วยลดโอกาสที่คนไม่ที่เกี่ยวข้องจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้
- สำรองข้อมูลของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันความสูญเสียในกรณีที่เว็บถูกโจมตีและข้อมูลถูกทำลาย ควรเก็บข้อมูลสำรองในที่ปลอดภัยที่แยกออกจากระบบหลัก
5. ข้อผิดพลาดจากการเขียนโค้ดของเว็บไซต์
หากเว็บไซต์ของคุณเขียนโค้ดได้ไม่ดี มีข้อผิดพลาดมากมาย เขียนโค้ดที่โครงสร้างที่ใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์มากกว่าปกติที่ควรจะเป็น ก็อาจส่งผลกระทบต่อเซิร์ฟเวอร์ เว็บไซต์ก็จะหยุดทำงานได้
- อัพเดทโค้ดเว็บไซต์ของคุณให้ทำงานได้ดีและใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ไม่โหลดข้อมูลซ้ำซ้อน
- ทดสอบการใช้งานเว็บไซต์อย่างละเอียดก่อนใช้งานจริง
- เลือกบริการรับทำเว็บไซต์ที่ดี แต่ก็เสี่ยงดวงอยู่เหมือนกัน เพราะคุณจะประเมินไม่ได้เลย หากคุณไม่ได้มีความรู้เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ แม้ว่าผู้ให้บริการทำเว็บไซต์ที่คุณเลือกจะดูน่าเชื่อถือก็ตาม เพราะส่วนใหญ่จะไม่เห็นโค๊ดของพวกเขา คุณจะเห็นแค่โปรดักชั่น
บทสรุป
อย่างที่คุณเห็น การล่มของเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องที่คุณควรจะมองข้าม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ใช้บริการโฮสติ้งที่เชื่อถือได้และปกป้องไซต์ของคุณจากการโจมตีประเภทต่างๆ ในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณหยุดทำงานเนื่องจากสาเหตุข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นหรือข้อผิดพลาดอื่นๆ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือจ้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวทันที